บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างไรในรายวิชา หลักเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1/1,1/2 แผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพสตึก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 60 คน ที่เรียนในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
ผู้สอนควรจะได้มีการปรับรูปแบบในการสอนของตนเอง พร้อมทั้งแผนการเรียนการสอน ตลอดจนบทเรียนและสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบในการเรียนของ ผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อเสนอแนะนี้มีรากฐานมาจากงานวิจัยจำนวนหนึ่ง เช่น Cheng และ Banya (1998) และ Freeman และ Richards (1993) ที่บ่งชี้ว่า ความพยายามที่จะตอบสนองต่อสไตล์ในการเรียนของผู้เรียนด้วยการเลือกใช้สไตล์ในการสอนที่เหมาะสม วิธีการสอน และการวางแผนการเรียนการสอน จะสามารถทำให้ผู้เรียนมีทั้งความพึงพอใจและสัมฤทธิผลของการเรียนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้สไตล์ในการเรียนแบบที่ผู้เรียนชื่นชอบหรือมีความถนัดให้มากที่สุด เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความพยายามที่จะเรียนให้ดีที่สุด ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า “ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่ต้องการจะทำ” (Nair-Venugopal, 1992, p. 67) ในกรณีนี้ เมื่อผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้เรียนมีสไตล์ในการเรียนแบบ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นรูปแบบสำคัญ ผู้สอนควรจะต้องพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนของตนนั้น ผู้เรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง (experiential learning) หรือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างสมบูรณ์ (total physical involvement in learning) ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้แบบ ปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้รูปแบบในการเรียนรู้ที่ตนเองถนัดนี้ตามสมควร นอกจากนี้ การที่ผู้เรียนระบุว่าผู้เรียนชอบรูปแบบในการเรียนแบบกลุ่ม (Group Learning) ก็เป็นโอกาสอันดีที่ผู้สอนจะได้จัดกิจกรรมกลุ่มในการเรียนการสอนของตนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่มนั้นจะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้องค์ความรู้ที่เป็นเป้าหมายในขอบเขตของการใช้งานที่กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านสังคมและด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (social and interpersonal functions) (Pica, 1994) ซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการความสำเร็จในการเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์
|